วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ขนมสาสี่ ของฝากเมืองสุพรรณ


ร้านเอกชัย ขนมสาสี่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
     หากพูดถึงของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดสุพรรณบุรีแล้วหลายๆคนอาจนึกถึงขนมสาลี่ที่เนื้อนิ่ม
ฟู เบา รสชาติหอมหวาน ส่วนบางคนอาจจะนึกถึงชื่อ “ร้านเอกชัย” ร้านขายของฝากชื่อ
ดังแห่งจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นมาทันที สำหรับอีกหลายๆคนที่ไม่รู้จักร้านเอกชัยหรือขนมสาลี่
ก็ไม่ต้องวิตกกังวลคิดว่าตนเป็นคนพ้นยุคพ้นสมัยไปแต่อย่างใด เพราะในคราวนี้ทีมงาน
ท่องเที่ยวดอทคอม( www.thongteaw.com )จะได้มาแนะนำให้ทุกๆท่านรู้จักกับ
“ร้านเอกชัย” และ “ขนมสาลี่” ของดีเมืองสุพรรณกัน
      “ร้านเอกชัย” อ.เมือง จ.สุพรรณบุรีเป็นร้านขายของฝากที่รู้จักกันในหมู่นักท่องเที่ยวและ
คนสุพรรณฯมาช้านานว่ามี ขนมสาลี่ ,ขนมลูกเต๋าและขนมเปี๊ยะนมข้น อร่อยชนิดที่หา
ร้านอื่นเทียบรัศมีได้ยาก หากแต่ขนมสาลี่สุพรรณฯนั้นเดิมทีเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาจาก
“ร้านแม่บ๊วย” ใน อ.บางปลาม้า ซึ่งทำขนมสาลี่ตัดห่อใบตองขายผู้สัญจรทางเรือที่ผ่านท่า
น้ำตลาดบางปลาม้า ขนมสาลี่สูตรดั้งเดิมจะประกอบไปด้วย แป้งสาลี ,ไข่เป็ด ,น้ำตาลทราย
และผงฟูผสมให้เข้ากัน ใส่กลิ่นนมแมวแล้วนำไปอบและตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ต่อมาร้านค้าต่างๆ
รวมทั้งร้านเอกชัยได้นำสูตรไปพัฒนาปรับปรุงรสชาติจนได้ออกมาเป็นขนมสาลี่
หลายรสหลากกลิ่น เช่น ลูกตาล ,ส้ม ,กาแฟ ,ชาเขียว ,ฯลฯ ดังในปัจจุบัน
     นอกเหนือไปจากสาลี่ธรรมดาหลากหลายกลิ่นรสแล้วทางร้านเอกชัยยังได้มีการ
ดัดแปลงทำเป็นสาลี่ใส่ไส้ผลไม้ต่างๆอีกด้วย ซึ่งสาลี่ใส่ไส้ผลไม้นั้นถือได้ว่าเป็น
สาลี่ที่อร่อยที่สุดของทางร้านเลยทีเดียว(แถมราคาแพงที่สุดด้วย) สำหรับราคาของสาลี่
ธรรมดานั้นตกอยู่ที่ห่อละประมาณ 35 – 37 บาท ส่วนราคาของสาลี่ใส่ไส้ผลไม้นั้นอยู่ที่ 5 ลูก 75 บาท(ราคาลูกละ 15 บาท แต่เวลาขาย ขายยกแพ็คครับ)

ร้านเอกชัย ขนมสาสี่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  ร้านเอกชัย ขนมสาสี่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  ร้านเอกชัย ขนมสาสี่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  ร้านเอกชัย ขนมสาสี่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  
ร้านเอกชัย ร้านขายของฝากของจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีชื่อเสียง


     สำหรับ “ขนมลูกเต๋า” นั้นเป็นขนมที่สร้างชื่อระบือนามทำให้ร้านเอกชัยโด่งดังโดดเด่น
พุ่งแรงแซงหน้าร้านอื่นๆที่ขายเพียงแต่ขนมสาลี่ในยุคสมัยเดียวกันมาอย่างชัดแจ้ง จากเนื้อ
แป้งนุ่มชุ่มนมชุ่มไข่ รสหวานหอมของไส้ภายในที่มีให้เลือกทั้งไส้ถั่วผสมแห้วและไส้เผือก
ผสมแห้ว ซึ่งทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของเราแนะนำว่าขนมลูกเต๋าไส้เผือกผสมแห้วน่าจะ
อร่อยโดนใจกว่าสำหรับคนส่วนใหญ่(จากการสำรวจผลโหวตภายในทีมงาน ลงคะแนนให้ขนม
ลูกเต๋าไส้เผือกผสมแห้วอร่อยกว่าไส้ถั่วผสมแห้วครับ) การใส่แห้วลงไปผสมในเนื้อขนมนั้นทำ
ให้เวลารับประทานขนมลูกเต๋าเนื้อเนียนละเมียดเข้าไปจะได้สัมผัสของความกรอบฉ่ำจากแห้ว
ที่ผสมอยู่ในไส้ขนมทำให้เพิ่มความเป็นเอกลักษณ์แก่ขนมลูกเต๋าของร้านเอกชัยอร่อยแปลกแตก
ต่างจากขนมลูกเต๋าของร้านอื่นๆอย่างมากเลยทีเดียว
     ส่วน “ขนมเปี๊ยะนมข้น” ก็ยอดเยี่ยมไม่แพ้กันเท่าไหร่ (แต่ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของ

เราชอบขนมลูกเต๋ามากกว่าซึ่งถ้าต้องให้เลือกระหว่างขนมลูกเต๋ากับขนมเปี๊ยะนมข้น ทีมงาน
ของเราส่วนใหญ่จะเลือกซื้อขนมลูกเต๋าครับ) ระดับความอร่อยของขนมเปี๊ยะนมข้นร้านเอกชัยนั้นสามารถทำให้คุณลืมความอร่อยของขนมโมจิร้านดังๆจากจังหวัดนครสวรรค์ได้เกือบทุกร้านเลย
ทีเดียว (ทีมงานเคยรับประทานขนมโมจินครสวรรค์มาทั้งหมด 4 ร้านและได้ลงมติว่าไม่มีร้านไหน
ที่ทำขนมโมจิได้อร่อยกว่าขนมเปี๊ยะนมข้นของร้านเอกชัยเลยแม้แต่ร้านเดียวครับ) ด้วยความนุ่มของเปลือกขนมเปี๊ยะและไส้เนียนเป็นเนื้อเดียวกันหวานอร่อยต่างจากขนมโมจินครสวรรค์ที่เนื้อแป้งซึ่งทำเป็นเปลือกนั้นจะแห้งกระด้างกว่าเล็กน้อยและไส้ในของขนมโมจินครสวรรค์นั้นก็จะแห้งร่วนกว่าไส้ขนมเปี๊ยะนมข้นของร้านเอกชัยด้วย สองจุดดังกล่าวข้างต้นนี้เองที่ทำให้ทีมงานของเราลงมติเป็นเอกฉันท์ว่าขนมเปี๊ยะนมข้นร้านเอกชัยอร่อยกว่าขนมโมจินครสวรรค์ ในเรื่องของไส้ขนมเปี๊ยะนม
ข้นนั้นมีให้เลือกทั้งไส้ชาเขียว ,ไส้ช็อกโกแล็ต ,ไส้สตรอเบอรี่โยเกิร์ต ,ฯลฯ ราคาของทั้งขนมลูกเต๋า
และขนมเปี๊ยะนมข้นก็อยู่ที่กล่องละ 35 – 42 บาทขึ้นอยู่ว่าภายในขนมนั้นใส่ไส้อะไรครับ


ร้านเอกชัย ขนมสาสี่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  ร้านเอกชัย ขนมสาสี่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  ร้านเอกชัย ขนมสาสี่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ขนมลูกเต๋า เปี๊ยะนมข้น (รสใหม่) และขนมสาลี่ที่ขึ้นชื่อของร้านเอกชัย

     สิ่งหนึ่งซึ่งเราคิดว่าเป็นข้อด้อยของทางร้านเอกชัยก็คือ การลดปริมาณและคุณภาพของ

ขนมลงน้อยกว่าในอดีตที่เคยเป็นมาแต่จำหน่ายในราคาเท่าเดิมหรือบางอย่างแพงกว่าเดิม
(แม้จะมีการปรับปรุงในเรื่องรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ให้ดีขึ้นก็ตาม) เนื่องจากมีทีมงานของเรา
สองท่านได้เคยลิ้มรสขนมลูกเต๋า ,ขนมเปี๊ยะนมข้นและขนมสาลี่ของร้านนี้มาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2548 
และได้มารับประทานอีกครั้งในปี พ.ศ. 2552 พบว่ามีการลดจำนวนขนมในบรรจุภัณฑ์ลง เช่น 
ขนมลูกเต๋าซึ่งแต่เดิมเคยใช้ถาดบรรจุรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบรรจุขนมลูกเต๋าได้ 15 – 24 ลูก ปัจจุบัน
จะใช้เป็นถาดบรรจุรูปอักษร H ซึ่งทำให้บรรจุจำนวนลูกเต๋าลงไปได้น้อยกว่าเดิมเพียงแค่ 14 ลูก ,ขนมสาลี่ซึ่งแต่ก่อนเคยทำเป็นห่อใหญ่บรรจุขนมสาลี่ตัดได้ 9 ชิ้น ปัจจุบันทำเป็นห่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ขนาดเล็กลงบรรจุขนมสาลี่ตัดได้เพียง 6 ชิ้น นอกจากนี้สมัยก่อนปี พ.ศ. 2548 ทางร้านน่าจะใช้แห้ว
ผสมลงไปในไส้ขนมลูกเต๋ามากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำให้ได้รสสัมผัสที่ชัดเจนของแห้วเวลารับประทานขนมลูกเต๋าแต่ในปัจจุบันรสสัมผัสของแห้วนั้นลดลงไม่ได้อร่อยมากเท่าในครั้งอดีต แถมความหอม หวาน มันของขนมเปี๊ยะนมข้นก็ลดลงกว่าที่เคยเป็น (แต่ก็ถือว่าขนมต่างๆของร้านเอกชัยยังอร่อยกว่าร้านอื่นๆส่วนใหญ่ซึ่งทำขนมแบบเดียวกันขายอยู่ในปัจจุบันพอสมควรเลยทีเดียวและเราเชื่อว่าใครที่ไม่เคยรับประทานขนมต่างๆของร้านเอกชัยมาก่อน หากได้มารับประทานในปัจจุบันก็จะยังคงติดใจในความอร่อยอยู่ดี) ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเหตุผลด้านธุรกิจหรือผลกำไรใดๆก็ตามที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวแบบนี้ขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ทีมงานของเราซึ่งเคยเป็นลูกค้าขาประจำของร้านเอกชัยบางท่านตัดสินใจที่จะลองแสวงหาร้านของฝากอร่อยๆราคาถูกในจังหวัดสุพรรณร้านอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากการฝากท้องไว้กับร้านเจ้าประจำเหมือนที่เคยเป็นมา หากเมื่อไหร่ที่ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมพบร้านของฝากในจังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งมีขนมบางอย่างราคาถูกและอร่อยกว่าก็จะได้นำข้อมูลมาแนะนำให้ทุกๆท่านอ่านกันอีกครั้งครับ


การเดินทาง
ร้านเอกชัยมีสาขาย่อยหลายสาขาซึ่งในสถานีบริการน้ำมันบางแห่งในจังหวัดสุพรรณบุรีก็จะมีสาขาของร้านเอกชัยอยู่ด้วย หรือ เพิงขายของฝากข้างถนนของชาวบ้านหลายแห่งก็จะมีขนมและของฝากต่างๆจากร้านเอกชัยวางขายอยู่เช่นกัน สำหรับสาขาใหญ่ของร้านเอกชัยนั้นตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 ขาออกจากตัวเมืองสุพรรณบุรีเข้าสู่กรุงเทพมหานครไม่ไกลจากห้างเทสโก้โลตัสเท่าไหร่(ทางออกจากตัว อ.เมืองมุ่งไปด้าน อ.บางปลาม้า) มีป้ายชื่อร้านขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัดเจนจากระยะไกล หรือหากใครอยากแวะร้านเอกชัยสาขาในตัวเมืองสุพรรณบุรีก็ได้ ร้านตั้งอยู่บนถนนหมื่นหาญฝั่งตรงข้ามเยื้องๆกับสำนักงานเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี

วัดไผ่โรงวัว


วัดไผ่โรงวัว อำเภอสองพี่น้อง 
         มีคำกล่าวเตือนไม่ให้ทำในสิ่งไม่ดี 
ไม่เช่นนั้นตายไปจะเป็น "เปรตวัดไผ่"ในสมัยเด็กก็ไม่เคยเห็นเปรต แต่ก็กลัว ตอนหลังได้มาเห็นเปรตที่วัดไผ่ ยิ่งทำให้กลัวการทำบาปมากขึ้น เปรต รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ลองมาชมดู   วัดไผ่โรงวัว สมัยก่อนเป็นวัดที่ใครๆที่มาสุพรรณ ต้องแวะกราบใหว้ และชมความสวยงาม ใหญ่โตของพุทธศิลปะ ต่อมาการจัดการภายในไม่ดี ทำให้วัดเริ่มไม่มีระบบระเบียบ เป็นภาพที่ไม่สวยงามกับผู้มาพบเห็น แต่ปัจจุบันได้มีการจัดระบบภายในวัด ให้เป็นระเบียบมากขึ้น ทำให้วัดเริ่มกลับมาสวยงาม เหมือนเดิม ถึงจะไม่ 100% แต่ก็นับว่าพัฒนาขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก



    วัดไผ่โรงวัว ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางตาเถร ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 43 กิโลเมตร หรือจากกรุงเทพฯประมาณ 70 กิโลเมตร  ตามเส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี มีทางแยกซ้ายก่อนถึงสามแยกลาดบัวหลวงเข้าสู่วัดไผ่โรงวัว  วัดนี้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2469 เป็นวัดที่มีพุทธ-ศาสนิกชน และบุคคลทั่วไป นิยมไปเที่ยวชมกันมาก หลวงพ่อขอม  ได้ดำเนินการก่อสร้าง “พระพุทธโคดม” เป็นพระพุทธรูปโลหะสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 17 ปี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกพระเกตุมาลา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2512

ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนา ได้แก่  “สังเวชนียสถาน 4 ตำบล”  คือสถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน  กับงานประติมากรรมหรือภาพปั้นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัตินรกภูมิ  รวมทั้งวรรณคดีและประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมี  “พระธรรมจักร”  หล่อด้วยทองสำริดใหญ่ที่สุดในโลก  “พระกะกุสันโธ”  พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “ฆ้องและบาตร” ใหญ่ที่สุดในโลก  “พระวิหารร้อยยอด” รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมากมาย



วัดป่าเลไลยก์ วันขึ้นชื่อของสุพรรณบุรี


วัดป่าเลไลยก์  อำเภอเมือง
กล่าวกันเสมอมาว่า ถ้ามาเมืองสุพรรณ แล้วไม่ได้แวะมากราบไหว้หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองสุพรรณ
ด้วยที่วัดป่าเลไลยก์เป็นวัดสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นสถานที่หนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน
ในช่วงวันหยุดจะมีผู้คนมากมายมากราบไหว้ขอพร และยิ่งเป็นวันหยุดยาว จะเป็นที่ที่คนนิยมมากเป็นอันดับต้นๆของจังหวัดสุพรรณ
   ถ้าหากมีโอกาสมาเมืองสุพรรณ สถานที่แรกที่ไม่ควรผ่านเลย... แวะชมความงดงามขอหลวงพ่อโต และกราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคล



ในอดีต..ประวัติวัดป่าเลไลยก์ 
เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง
อยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำสุพรรณ ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 4 กิโลเมตร
ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า
วัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์ 
   ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า ...พระเจ้ากาเตทรงให้มอญน้อย มาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ภายหลังปี พ.ศ. 1724 เล็กน้อย  
หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท)  มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย
ภาพเขียนเรื่องราว ขุนช้าง-ขุนแผน
รอบๆ วิหารของหลวงพ่อโต มีจิตรกรรมฝาผนัง
เล่าเรื่องราวของขุนช้าง-ขุนแผน
ตั้งแต่เริ่มเรื่อง จนถึงตอนสุดท้าย
เป็นภาพที่สวยงาม และได้ความรู้
วัดป่าเลไลยก์ มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดี
อันลือชื่อของไทย  คือ เสภาขุนช้างขุนแผน 
นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่
ปัจจุบัน วัดป่าเลไลยก์ มีสถานะเป็น
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
เรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทยแบบโบราณ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าเลไลยก์ สร้างเป็นเรือนไทยไม้สักหลังใหญ่กว้างขวาง ตามเรือนของขุนช้างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นไปบนเรือนจะเห็นภาพวาดตัวละครขุนช้าง
นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปเป็นที่ระลึก แต่ละห้องจะมีภาพบรรยายเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน มีการจัดแสดงเครื่องใช้ต่างๆในสมัยก่อน มีการตกแต่บริเวณโดยรอบสวยงามน่าเที่ยวชม
เสภาขุนช้างขุนแผน  เมื่อนางทองประศรี
พาพลายแก้วไปอยู่เมืองกาญจน์เก็บหอมรอมริบ
จนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐี และเมื่อพลายแก้วเติบโต
ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้มาเรียนคาถาอาคม
พร้อมกับเทศน์มหาชาติ กับสมภารมีแห่งวัดป่าเลไลยก์ 
เพื่อเป็นการอนุรักษ์เรื่องราวดีๆ   ทางวัดป่าเลไลยก์
ได้จัดให้มีเทศน์มหาชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี
และสร้างเรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทย ไม้สัก
เพื่อให้ลูกหลานได้ทัศนศึกษาสืบต่อไป.......



อุทยานแห่งชาติพุเตย


อุทยานแห่งชาติพุเตย อำเภอด่านช้าง
ดินแดนแห่งขุนเขา ป่าหนึ่งเดียวที่สมบูรณ์ที่สุดของเมืองสุพรรณ เป็นชายป่าผืนสุดท้ายของป่าห้วยขาแข้ง เป็นสถานที่ที่เหมาะกับนักเดินทางที่หลงใหลในธรรมชาติ ความสงบเงียบ ป่าเขา น้ำตก ความงดงามงามของดวงอาทิตย์ยามเช้า ไอหมอก ความหนาวเย็น และวิถีชีวิตของชนชาวกระเหรี่ยง......
สถานที่กางเต็นท์มี 3 จุดใหญ่ๆ ได้แก่
  - หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 1 
(ด้านวังคัน-ป่าขี)
  - ที่ทำการอุทยานฯ พุเตย 
(ด้านปลักประดู่-ห้วยหินดำ)
  - หน่วยพิทักอุทยานฯ พุเตยที่ 3 ตะเพินคี่ 
(ด้านปลักประดู่-ตะเพินคี่)



สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขต อุทยานแห่งชาติพุเตย 
ป่าสนสองใบธรรมชาติ 
มีประมาณกว่า 1,300 ต้น  อยู่บนเทือกเขาพุเตยเป็น ป่าแปลกมหัศจรรย ์เพราะป่าสนจะเจริญเติบโตในพื้นที่
ภูเขาสูงชัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป แต่ป่าสนแห่งนี้เจริญเติบโตบนพื้นที่ที่มีความสูงจาก
ระดับน้ำทะเลเพียง 763 เมตรเท่านั้นสภาพป่าสมบูรณ์มาก จนได้รับเลือกให้เป็นศูนย์แม่พันธุ์ไม้สนสองใบในภาคกลาง บางต้นมีขนาดใหญ่วัดได้ถึง 2-3 คนโอบ ห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1 (พุเตย) ประมาณ 12 กิโลเมตร

วนอุทยานถ้ำเขาวง, ถ้ำพุหวาย
จาก อ.ด่านช้าง ไปทาง อ.บ้านไร่-บ.สะนำ แยกซ้ายไปวนอุทยานฯ 
ห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1 (พุเตย) รวมระยะทาง 52 ก.ม. ผ่านวัดถ้ำเขาวง

หมู่บ้านกระเหรี่ยงตะเพินคี่ (ที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ พุเตยที่ 3 ตะเพินคี่) เป็นป่าที่สวยงาม และเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านกะเหรี่ยง ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยมากว่า 200 ปี ผืนป่า และต้นน้ำตะเพินคี่ ยังคงสภาพสมบูรณ์ เหมาะแก่การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยล่องไพร เป็นดินแดนแห่งความหนาวเย็น ในหน้าหนาวอุณหภูมิจะลดลง 5-6  ํC ยอดเขาเทวดาที่ความสูงกว่า 1000 เมตร และยังเป็นดินแดนรอยต่อของสามจังหวัดสุพรรณบุรี-อุทัยธานี-กาญจนบุรี  การเดินทาง หน้าฝนควรเป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ส่วนหน้าแล้งรถยนต์นั่งธรรมดาก็สามารถไปได้ แต่ควรเป็นรถปิคอัพ
น้ำตกตะเพินคี่น้อย 
เป็นน้ำตกขนาดเล็กอยู่ใกล้กับหมู่บ้านตะเพินคี่ มีน้ำไหลตลอดปี เป็นความงดงามทางธรรมชาติ ที่คนภายนอกไม่ค่อยได้มีโอกาสไปสัมผัส เหมาะสำหรับผู้ที่รักการเดินทางแบบผจญภัยเล็กๆ
น้ำตกตะเพินคี่ใหญ่ 
เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีสองชั้น ความสูงประมาณชั้นละ 5-6 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี
เพราะเป็นต้นน้ำและบ่อน้ำผุด ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และยังมีถ้ำที่สวยงามที่ยังอยู่ระหว่างการสำรวจ

เขื่อนกระเสียว


เขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
    
ช่วงเวลาสั้นๆแต่มีความหมายที่ยิ่งใหญ่สำหรับนักเดินทาง ช่วงเวลาที่แสงสุดท้ายจะลาลับขอบฟ้า ความงดงามที่หลายคนเฝ้ารอคอย.....
    เขื่อนกระเสียว เป็นหนึ่งในสถานที่ที่สามารถชมความงดงาม ยามพระอาทิตย์ตกดินที่สวยที่สุด ของจังหวัดสุพรรณบุรี ยิ่งในช่วงหน้าหนาว แสงสีที่ค่อยๆเปลี่ยนไป ภาพดวงอาทิตย์สีแดงกลมโต ที่ค่อยๆเลื่อนลงเหนือยอดเขา และแสงเงาที่กระทบลงผืนน้ำ อากาศที่หนาวเย็น นับเป็นช่วงเวลาที่มีความหมาย เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง




   เขื่อนกระเสียว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำสร้างกั้นลำห้วยกระเสียว ยาว 4,250 เมตร สูง 32.5 เมตร พื้นที่กักเก็บน้ำ 28,750 ไร่ ปริมาณ น้ำที่สามารถกักเก็บน้ำได้สูงสุด 240 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเขื่อนดินที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และเป็นแหล่ง เพราะพันธุ์ปลาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทิวทัศน์สวยงาม กลางวันอากาศค่อนข้างร้อน ช่วงเย็นอากาศดีมาก โดยเฉพาะจุดตั้งแค้มป์ริมเขื่อนเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม
การเดินทางไปจุดตั้งแค้มป์ จากสี่แยกไฟแดงอำเภอด่านช้างก่อนถึงทางเข้าตัวเขื่อน จะมีถนนขวามือ มีป้าย"แพกระเสียว" วิ่งไปตามทางราดยางอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีแยกซ้ายมือทางไปริมเขื่อนประมาณ 200 เมตร จะถึงจุดกางเต็นท์ ริมเขื่อน ดกางเต็นท์ที่น่าสนใจอีกแห่งจะอยู่ทางตะวันตกของตัวเขื่อนชื่อ "แพชาวเขื่อน" สภาพยังเป็นธรรมชาติ เหมาะกับนักเดินทางที่ไม่เน้นความสะดวกสบายมากนัก ใช้เส้นทางไป อ.หนองปรือ ทางเข้าอยู่ขวามือ เป็นทางลาดยาง จะมีช่วงลูกรังเล็กน้อยก่อนถึงจุดกางเต็นท์ หรือถ้าต้องการพักสบายๆในตัวอำเภอก่อนเดินทางก็มี อย่าง ด่านช้างแค้มปิ้งเฮ้าส์รีสอร์ท
ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวในอำเภอด่านช้าง สามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวแถบนั้นได้เป็น  อย่างดี และช่วง
อาหารมื้อเย็น ลองไปนั่งชมวิวบนเขื่อนที่ร้าน เรือนข้าหลวง หรือรับลมเย็นๆที่ ร้านติดลม






อำเภอด่านช้าง เปรียบได้กับประตูสู่การเดินทางแนวผจญภัยของเมืองสุพรรณดินแดนที่เต็มไปด้วย ธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ เขื่อนกระเสียวก็เหมือนโอเอซิส แหล่งอาหารแหล่งเสบียง ที่อุดมสมบูรณ์ในเขื่อนเต็มไปด้ายปลา นานาชนิด ที่เพาะเลี้ยงและอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ทั้งปลานิล ปลาม้า ปลาบึก และกุ้งจากเขื่อนกระเสียว ที่หลายคนออกปากว่ารสชาดดี ช่วงปลายฝน ราวเดือนตุลาก็จะมีพืชพันธุ์จากป่าเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก มีทั้งเห็ดโคน หน่อไม้ ผักหวานป่า น้ำผึ้ง.. อำเภอด่านช้าง จึงเป็นที่ที่เตรียมพร้อม เพื่อการเดินทางสู่ดินแดนแห่งป่าเขา ดินแดนแห่งสายหมอก และชนภูเขา อย่าง อุทยานแห่งชาติพุเตย ยอดเขาเทวดา แห่งหมู่บ้านกระเหรี่ยง ตะเพินคี่
บ้านน้ำเอ่อ และ ศร9. ไกรเกรียง

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วีดีโอแนะนำ



           ที่ยว สุพรรณบุรี บึงฉวาก ตลาดสามชุก




                    บึงฉวาก ฉลาม ทะเล สุพรรณบุรี




                  ชวนไปกินปลาม้า ที่บางปลาม้า



                                 ตลาดน่าเที่ยว สุพรรณบุรี

เที่ยวอนุสรณ์ดอนเจดีย์

 พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ 
     ประกอบด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึกและองค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี ที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2134 
   ภายในองค์เจดีย์ได้มีการสร้างห้องแสดงประวัติศาสตร์ ทั้งภาพแสงสีเสียง  และหุ่นจำลองการยกทัพของพม่าและไทย หลายร้อยตัว เป็นสถานที่ได้ทั้งความรู้และเพลิดเพลิน 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ได้เสด็จทรงประกอบพิธีบวงสรวง และเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ 
   กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่  โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร  ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร  ครอบเจดีย์องค์เดิม 
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราช สมภพเมื่อเดือน 1 ขึ้น 1 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. 2098 ณ พระราชวัง จันทรเกษม จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 แห่งสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระวิสุทธิกษัตรี อันเป็นพระราชธิดาแห่งสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และพระมหาจักรพรรดิ์ พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีคือ สมเด็จพระศรีสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ
ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก หงสาวดีบุเรงนองได้นำสมเด็จพระนเรศวรไปยังหงสาวดีเพื่อเป็นตัวประกัน ขณะเมื่อทรงมีพระชันษาได้เพียง 8 พระชันษา ครั้นหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ หงสาวดีนันทบุเรง ขึ้นครองราช ทรงมีพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า มังรายกะยอชะวา (ต่อมาได้สถาปนาเป็น พระมหาอุปราชา) ซึ่งมีนิสัยเย่อหยิ่ง ครั้งหนึ่งมังรายกะยอชะวาเอาไก่ชนมาชนกับไก่ของสมเด็จพระนเรศวรแล้วแพ้ จึงกล่าวกับพระนเรศวรว่า " อ้ายไก่เชลยที่พลัดบ้านเมืองมา ไม่ครนามือกู"  พระนเรศวรจึงตรัสตอบว่า "แม้เป็นไก่เชลย แต่ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่ตีเพื่อความสนุกเลย เดิมพันเอาบ้านเอาเมืองก็ยังได้" สมเด็จพระนเรศวรทรงเจริญพระชันษาในราชสำนักหงสาวดี พร้อมกับฝีมือการต่อสู้ที่กร้าวแกร่ง ต่อมาพระศรีสุพรรณกัลยาณีได้เสียสละอย่างสูงสุด เดินทางไปถวายตัวกับพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เพื่อแลกตัวสมเด็จพระนเรศวรกลับยังกรุงศรีอยุธยา ครั้งหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้เรียกให้พระนเรศวรยกทัพไปร่วมทัพที่กรุงหงสาวดี เพื่อจะไปตีเมืองอังวะ แต่ได้ออกอุบายให้ พระยาเกียรติพระยาราม สองขุนศึกมอญลอบปลงพระชนม์ แต่พระยาเกียรติพระยารามได้นำความไปเล่าให้ พระมหาเถรคันฉ่องซึ่งเป็นพระอาจารย์ฟัง พระมหาเถรจึงนำพระยาเกียรติพระยารามเข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องราวแก่ สมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงมีปฐมบรมราชโองการประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแครง ว่า "กูสมเด็จพระนเรศวร ขอประกาศความเป็นอิสระภาพ ไม่ขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป" หงสาวดีนันทบุเรงทรงพิโรธ สั่งให้สุกรรมา นายทัพคู่ใจ ออกไปสกัดทัพไว้ที่แม่น้ำสะโตง สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนยิงสุกรรมาเสียชีวิตบนหลังช้าง ทรงพระราชทานนามพระแสงปืนนั้นว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง"  ในปี พ.ศ. 2133 พระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต หงสาวดีนันทบุเรงถือเป็นโอกาส จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาให้ยกทัพมาตีกรุงศรี แต่ก็ต้องพ่ายแพ้กลับไป จนปี พ.ศ. 2135 พระมหาอุปราชา และ มังจาชโร (พระเจ้าแปร) ได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีทางด่านเจดีย์สามองค์ ครั้นถึงบ้านพนมทวน เกิดลมพัดฉัตรเหนือพระเศียรหักลง ซึ่งในคืนวันเดียวกับที่สมเด็จพระนเรศวร ตั้งทัพอยู่ที่ทุ่ง ต.ม่วงหวาน แขวงวิเศษชัยชาญ ทรงสุบินว่า มีสายน้ำหลากมาจากทิศตะวันตก มีพระยากุมภีร์ตัวใหญ่ว่ายตามน้ำมาเข้าทำร้าย พระองค์ทรงใช้พระแสงดาบคู่มือฟันแทงจนถึงแก่ความตาย
สมเด็จพระนเรศวรสั่งเคลื่อนพล 100,000 นายขึ้นไปตั้งทัพที่ หนองสาหร่าย เมืองสุพรรณ ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นทัพหน้า ตั้งทัพที่ดอนเผาข้าว เกิดปะทะกับทัพของพม่า และพ่ายถอยร่นมายังกองทัพของสมเด็จพระนเรศวร ทัพของสมเด็จพระนเรศวรเข้าช่ายจนเกิดฝุ่นตลบ ครั้นฝุ่นหายไป สมเด็จพระนเรศวรก็ตกอยู่ในวงรอมของกองทัพพม่า  พระองค์จึงตรัสแก่พระมหาอุปราชาให้ร่วมทำการยุธหัตถี " ขอพระเจ้าพี่ได้ทำการยุทธหัตถี ด้วยการยุทธเยี่ยงนี้จักไม่บังเกิดขึ้นอีกต่อไป " พลายพัทธกอ (ช้างของพระมหาอุปราชา) ได้ล่างรุนแบกพลายไชยยานุภาพ (ช้างสมเด็จพระนเรศวร) พระมหาอุปราชาเงื้อพระแสงของ้าวฟันถูกปีกพระมาลาของ สมเด็จพระนเรศวรขาดกระเด็น (ทรงพระราชทานนามว่า พระมาลาเบี่ยง ครั้นพลายไชยยานุภาพได้ทีรุนพลายพัทธกอเท้าหน้าลอยขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงง้าวฟันกระดูกพระพาหาขาดลงไปถึงพระอุระ (อก) ผ่านพระอุทรออกทางพระปรัศว์ (สีข้าง) อีกข้างหนึ่งสิ้นพระชนม์ ส่วนพระเอกาทศรถทรงช้างพระยาปราบไตรจักร ก็มีชัยต่อมังจาชโร (พระเจ้าแปร) ช้างพระที่นั่งไชยยานุภาพ พระราชทานนามใหม่ว่า "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี " รับสั่งให้สร้างสถูปขึ้นที่พระองค์ทรงทำยุทธหัตถี พระราชทานนามว่า "เจดีย์ยุทธหัตถี" ณ ตำบลท่าคอย (ปัจจุบัญเป็นตำบลดอนเจดีย์) เมื่อปี พ.ศ. 2147 สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปต่อสู้กับพระเจ้าอังวะ ทรงตั้งค่ายที่เมืองหาง ทรงพระประชวรเป็นพระยอดพิษที่พระนลาฏ และเสด็จสวรรคตที่ เมืองหาง เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็ง พระชันษา 50 พรรษา รวมเวลาเสวยราชสมบัติเป็นเวลา 15 ปี