สามชุก ตลาด 100 ปี ย้อนเวลา... ค้นหาความทรงจำที่อาจลืมเลือน ภาพอดีตที่ยังคงอยู่ แม้เวลาจะผ่านไปแสนนาน ตลาดเก่าที่มีชีวิต และคอยเล่าเรื่องราวของวันเวลาที่กำลังจะจางหายไปจากความรู้สึก และความทรงจำให้กับผู้คนที่ผ่านมายังตลาดแห่งนี้ ตัวอำเภอยังเป็นตลาดเก่าที่สร้างด้วยไม้เรียงติดกัน อยู่ริมฝังตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ภาพวิถีีชีวิตของผู้คนในชุมชน, สถาปัตยกรรมโบราณ เชิงชายไม้แกะสลัก อาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์ จีนารักษ์ ร้านขายยาจีน-ไทยโบราณ-ร้านกาแฟโบราณ-ร้านถ่ายรูปโบราณยังคงมีสภาพและรูปแบบเดิมเหมาะแก่การอนุรักษ์ และรักษาให้เป็นบันทึกของชีวิตริมแม่น้ำท่าจีน อีกแห่งหนึ่ง และยังเป็นแหล่งรวมสินค้าโดยเฉพาะขนมไทยโบราณ กาแฟสด และอาหารสด จำพวกปลาแม่น้ำและพืชผักจากชาวบ้าน |
ในอดีต..บ้านสามชุกได้ชื่อว่าเป็นท่าเรือทางการค้าที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผู้ที่เดินทางจากตัวเมืองไปอำเภออื่นๆที่เลยออกไป จำเป็นต้องหยุดพักที่สามชุก เพราะได้เวลาค่ำพอดี นอกจากนั้นยังเป็นที่ที่พวกกระเหรี่ยงนำของจากป่า บรรทุกเกวียนมาขายให้พ่อค้าทางเรือ และซื้อของจำเป็นกลับไป ในสมัยหนึ่งบ้านสามชุกขึ้นกับอำเภอเดิมบางนางบวช เมื่อปี พ.ศ. 2437 ต่อมาปี พ.ศ. 2454 จึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบริเวณหมู่บ้านสำเพ็ง และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอสามชุกเมื่อปี พ.ศ. 2457 มีเนื้อที่ 362 ตารางกิโลเมตร มี 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน |
อำเภอสามชุก มีประวัติจารึกว่าเคยเป็น ดินแดนที่มี ความยิ่งใหญ่ในอดีต ในฐานะที่เป็นเสมือนเมืองท่า ที่สำคัญของ จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ได้เคยเป็นแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่มาแต่โบราณ จากการขุดพบเทวรูปยืน เนื้อหินสีเขียวขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ใน พ.ศ. 2522 ที่บ้านเนินพระ ต.บ้านสระ อ.สามชุก ทำให้นักโบราณคดีเริ่มขุดค้น และเชื่อว่า | ณ ที่นี้เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยขอมแห่งหนึ่ง ที่มีความสำคัญ โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ใน อาณาจักรทวารวดีระหว่าง พ.ศ.ที่ 16-18 จากการขุดพบ ได้พบลายปูนปั้นเป็นจำนวนมาก เช่น เศียรเทวดา พระพิมพ์เนื้อชิน นางอัปสร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ลายเทพพนม เศียรอสูรขนาดใหญ่ รูปสัตว์ที่ประดับศาสนสถาน ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง |
พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์จีนารักษ์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2547 ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของ ลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งสัมพันธ์กับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ของเมืองสามชุก ตลาดสามชุก สังคม และสภาพวิถีชีวิต ของผู้คนสามชุก มีการแสดงประวัติเจ้าของอาคารพิพิธภัณฑ์ คือ ท่านขุนจำนงจีนารักษ์ และกล่าวถึงโครงการสามชุกเมืองน่าอยู่ มีการจัดแสดงผลงานศิลปะผ่านภาพวาด และลายเส้นเกี่ยวกับสามชุกของนักศึกษา | จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาคารพิพิธภัณฑ์หลังนี้เดิมเป็นบ้านของ ขุนจำนง จีนารักษ์ ตั้งอยู่ในตลาดสามชุก ซอย 2 ลักษณะเป็นอาคารไม้สามชั้น สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ. ศ. 2459 อายุกว่า 90 ปี มาแล้ว นางเคี่ยวยี่ จีนารักษ์ ทายาทคนปัจจุบัน ได้อนุญาตให้คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก ปรับปรุงบ้านจัดทำพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ของท้องถิ่น และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น