ตราประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นรูปยุทธหัตถี หมายถึง การกระทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับพระมหาอุปราชาแห่งพม่า และบริเวณที่ทำยุทธหัตถีอยู่ในท้องที่อำเภอดอนเจดีย์ |
|
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ........ต้นมะเกลือ เป็นไม้มงคลที่ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระราชทานเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 เพื่อให้พสกนิกรชาวสุพรรณบุรีนำมาปลูกเป็นสิริมงคล ต้นมะเกลือเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 8-15 เมตรบางต้นที่มีความสมบูรณ์มากอาจสูงถึง 30 เมตร ลักษณะลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป แตกกิ่งก้านสาขาทุกส่วนของลำต้น เปลือกนอกเป็นสีดำขรุขระ ประโยชน์ของต้นมะเกลือมีมากมาย และใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น คือ ลำต้นใช้ทำไม้ถือกบ (กบใสไม้) ทำเครื่องตกแต่บ้าน ผลมะเกลือใช้ย้อมผ้า ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เปลือกใช้ผสมเครื่องดื่มพื้นเมืองบางชนิดเพื่อกันบูดดอกไม้ประจำจังหวัด.........สุพรรณิการ์ เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร กิ่งก้านคดงอ ใบรูปหัวใจ แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลมเมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกมาก ราวกุมภาพันธ์-เมษายน มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมือง ของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ จังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5358 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ ได้แก่
บุคลสำคัญ ของจังหวัดสุพรรณบุรีมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เกิดที่บ้านท้ายน้ำตก ริมแม่น้ำด้านใต้ตัวเมืองสุพรรณบุรี ศึกษาเล่าเรียนทางพระปริยัติธรรมจนได้เปรียญ และได้เป็นครูในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ต่อมาได้โดยเสด็จพระเจ้าลูกเธอ 4 พระองค์ ในพรธเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ออกไปทรงศึกษา ณ ต่างประเทศ ท่านได้ใช้เวลาว่างในการศึกษาภาษาอังกฤษ และมีโอกาสตามเสด็จในการไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ จนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นผู้ช่วยเลขานุการฑูตสยาม ณ กรุงลอนดอน และเป็นพระวิจิตรวรสาส์นเลขานุการฑูตไทย ประเทศสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา เมื่อกลับมาประเทศไทยท่านได้รับราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชเป็นคนแรก ในตำแหน่งพระยาสุขุมนัยพินิต ได้พัฒนาปรับปรุงระเบียบการปกครองเจ็ดหัวเมืองภาคใต้เป็นอย่างดี จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดี กระทรวงโยธาธิการ และเสนาบดีกระทรวงนครบาล ตามลำดับ ผลงานของท่านที่กลับมารับราชการในส่วนกลางนั้น เป็นที่น่าประหลาดใจในความสามารถของท่านเป็นอย่างยิ่ง จากเด็กวัดชาวสุพรรณบุรี สู่การเป็นครู และฑูตสันถวไมตรี ท่านกลับมีความสามารถในการก่อสร้างอย่างน่าอัศจรรย์ ท่านเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างประปาพระนคร ไฟฟ้านครหลวง ผู้อำนวยการสร้างถนน สะพานทุกแห่ง ร่วมทั้งพระที่นั่งอนันตสมาคมอันสง่างาม จนได้รับการพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยายมราช ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คุณงามความดีและความรับผิดชอบในการปฎิบัติราชการด้วยความซื่อตรง อุตสาหะ ของท่านเจ้าพระยายมราช ทำให้ท่านก้าวเข้าสู่ตำแหน่งสูงสุดในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงแก่อนิจกรรม ปัจจุบันสถานที่ซึ่งยังเป็นอนุสรณ์อยู่ก็คือ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช และบ้านเรือนไม้หลังเก่าที่สร้างอยู่ในบริเวณบ้านเดิมของท่านด้านข้างโรงพยาบาล สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณศิริ) ชาวสุพรรณผู้มีคุณูปการ และสร้างชื่อเสียงเกียรติภูมิให็กับถิ่นฐานบ้านเกิดของท่าน ที่เป็นพระสังฆราชา จนได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์สูงสุด ถึงสมเด็จพระสังฆราช คือสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก องที่ 17 (ปุ่น สุขเจริญ) สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) ประสูติที่ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ทรงศึกษาปริยัติธรรม ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค และยังมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีนอีกด้วย ท่านเป็นพระภิกษุที่ชอบศึกษาค้นคว้า ชอบฟังปาฐกถา จนมีความรู้กว้างขวาง และมีความสามารถด้านการประพันธ์ ปรากฎผลงานมากมาย เช่น หนี้กรรมหนี้เวร พุทธชยันตี ลิขิตสมเด็จ และยังเป็นองค์เทศนา (ปฎิภาณ) ที่เป็นเยี่ยม ทรงได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปริณายก องค์ที่ 17 เจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม และอยู่ในพระสมณศักดิ์นี้จนสิ้นพรธชนม์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2516 อนุสรณ์สถานที่ชาวสุพรรณยังระลึกถึง พระคุณของท่านจวบจนทุกวันนี้คือ การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ขึ้น ที่บ้านเกิดของท่าน คืออำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี นิราศสุพรรณ แต่งขึ้นในราวปี พ.ศ.๒๓๗๔ ในระหว่างที่สุนทรภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ วัตถุประสงค์ในการเดินทางคือเพื่อหาแร่ชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาแปรธาตุชนิดอื่นได้ พูดง่ายๆคือท่าน “เล่นแร่แปรธาตุ” นั่นเอง นิราศเรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องเดียวของท่านที่แต่งเป็นโคลง ทำนองจะลบคำสบประมาทว่าท่านแต่งได้แต่เพียงกลอน ในนิราศเรื่องนี้เราจะพบท่านสุนทรภู่แต่งโคลงกลบทไว้หลายต่อหลายรูปแบบ และโคลงที่มีสัมผัสในเหมือนอย่างกลอนที่ไม่เหมือนใครอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า ท่านสุนทรภู่ใช้คำเอกโทษ โทโทษ เปลืองที่สุดด้วยหมายจะคงความหมายดังที่ต้องการ ส่วนการรักษารูปโคลงเป็นเพียงเรื่องรองทำให้ได้รสชาติในการอ่านโคลงไปอีกแบบหนึ่ง เพราะต้องเดาด้วยว่าท่านต้องการจะเขียนคำว่าอะไร
สำเนียงเสียง "เหน่อ" จุดเด่นของความเป็นคนสุพรรณ เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นสำเนียงพูด คนสุพรรณไปอยู่ที่ใหนก็ตาม ผู้คนทั่วไปจะรู้ได้ไม่ยากนัก จากสำเนียงเสียง "เหน่อ" แต่...ช่างน่าเศร้าใจ ที่คนทั่วไปมักจะเห็นว่าสำเนียงเสียงเหน่อของคนสุพรรณนั้น ฟังแล้วชวนขบขัน เขาหาว่าคนสุพรรณบ้านนอก โง่ เซ่อ เฉิ่ม เชย เลยได้เป็นแค่คนรับใช้ในหนังในละคร เสียงเหน่อของคนสุพรรณนั้น นักวิชาการระบุว่าน่าจะเป็นสำเนียงหลวง เป็นสำเนียงดั้งเดิมของคนไทย เพราะเจ้าเมืองสุพรรณเคยเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ได้อพยพผู้คนจากสุพรรณบุรี ไปอยู่ที่ราชธานีศรีอยุธยาด้าย ภาษาที่ใช้ในราชสำนักสมัยนั้น จึงน่าจะเป็นภาษาที่คนสุพรรณพูดจาอยู่เดิม เมื่อสิ้นอยุธยา ราชธานีย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรีและพระนคร ก็มีคนจีนจำนวนมากมาตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขายกัน ทำให้ภาษาคนกรุงที่เคยเป็นสำเนียงสุพรรณก็เพี้ยนผันปนกับสำเนียงจีน กลายเป็นสำเนียงคนบางกอกไป เสียงเหน่อสุพรรณที่ยังฝังแน่นกับคนพื้นถิ่น บางคนหาว่าน่าขบขัน แท้จริงนั้นเป็นสำเนียงของความเป็นไทย เป็นเสน่ห์เป็นความจริงใจ ที่จะไม่ลบเลือนไปจากหัวใจ และวิถีของคนสุพรรณ จากหนังสือ แล....ล่อง ท่องสุพรรณ เพลงพื้นบ้าน สุพรรณบุรี มีเพลงพื้นบ้านที่ร้องเล่นกันมาแต่สมัยโบราณ เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงอีแซว ด้วยสุพรรณบุรีเป็นเมืองเกษตรแต่ดั้งเดิม อาชีพหลักคือการทำนา และประเพณีสำคัญที่ชาวสุพรรณรู้จักดี ก็คือประเพณี "ลงแขกเกี่ยวข้าว" คนสุพรรณเป็นคนที่มีนิสัยรื่นเริงชอบความสนุกสนาน เมื่อออกแรงทำนาเกี่ยวข้าว ก็จะหาอะไรที่สนุกเล่น แก้เหนื่อย ทำให้เกิดความคึกคัก ในระหว่างทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดเพลงพื้นบ้านขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำ เพลงสงฟาง คนสุพรรณเล่นเพลงเหล่านี้มา ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวดสืบต่อกันมา และขยายเป็นแหล่งชุมเพลงใหญ่ของประเทศ การเล่นเพลงพื้นบ้านนั้น ไม่ได้เล่นแค่คนสองคน แต่เล่นกันเป็นหมู่คณะ คนใหนเก่งก็เป็นพ่อเพลง แม่เพลง เก่งน้อยหน่อยว่าเองไม่ได้ ก็เป็นลูกคู่คอยกระทุ้ง บางคนก็คอยเคาะจังหวะ ตีเกราะ เคาะไม้ ตามสนุกพวกที่ร้องเล่นไม่ได้ ก็นั่งฟังหรือกระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะ ด้วยเหตที่คนสุพรรณมีวิถีชีวิตใกล้ชิดอยู่กับเพลงพื้นบ้าน ทำให้เพลงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจิตวิญญาน ของคนสุพรรณเกือบทุกคน ทำให้เกิดศิลปินพื้นบ้าน ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินที่มีชื่อเเสียงมากมาย ครูมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ ปี 2528 แม่บัวผัน จันทร์ศรี ศิลปินแห่งชาติ(เพลงพื้นบ้าน) ปี2533 ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ ปี 2537 แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ (เพลงพื้นบ้านแห่งยุค) ปี 2539 ครูไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติ (ยอดศิลปินเพลงแหล่) ปี 2540 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น