วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

งานประเพณี


งานประเพณี จังหวัดสุพรรณบุรี
       
        จังหวัดสุพรรณ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ย้อนอดีตกลับไปถึงสมัยทวาราวดี สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตที่บฎิบัติสืบต่อกันมา ทำให้เกิดประเพณีต่างๆขึ้นในแต่ละท้องถิ่น ประเพณีเหล่านี้ นับวันจะค่อยๆสูญหายไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน หากเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ อีกไม่ช้านานเราคงไม่มีโอกาสได้ชม... ได้รับรู้เรื่องราวที่งดงาม และแฝงไปด้วยแนวคิดที่ดีงามของแต่ละชุมชน
   คุณตุ๋ย และคุณตะวันไม่ลับกลับบ้านไม่ถูก จะเก็บภาพและเรื่องราว งานประเพณีที่สวยงามของเมืองสุพรรณ มาให้พวกเราได้ชม และได้ศึกษาความเป็นมาของอดีตที่เต็มไปด้วยคุณค่า ควรแก่การรักษาและสืบสานต่อไป




ประเพณีตักบาตรเทโว วัดเขาดีสลัก หลังจากออกพรรษาแล้วในเดือนตุลาคม จะมีการนำอาหาร ขนม โดย เฉพาะอย่างยิ่งขนมต้มลูกโยนใส่บาตรถวายแด่พระสงฆ์

งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ ณ บริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ มีการแสดงแสงสีเสียง
ยุทธหัตถีชนช้างเทิดพระเกียรติ การออกร้านของอำเภอและหน่วยราชการต่าง ๆ
รวมทั้งการแสดงมหรสพ งานนี้จะจัดในช่วงวันกองทัพไทย
18 มกราคม ถึง 1 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ระยะเวลาประมาณ 15 วัน

ประเพณีตักบาตรกลางน้ำ ตลาดคอวัง-วัดเจ้าขาว-วัดป่าพฤกษ์         ตลาดคอวัง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณฝั่งตะวันตก มีประเพณีตักบาตรกลางน้ำทุก วันแรม 12 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งจะมีพระสงฆ์จำนวนมาก พายเรือมารับบิณฑบาตรจากพุทธศาสนิกชน บริเวณฝั่งแม่น้ำ เรื่อยไแผ่านวัดเจ้าขาว สุดปลายทางที่วัดป่าพฤกษ์ โดยของที่นำมาถวายจะมีทั้งอาหาร และดอกไม้ เป็นภาพที่งดงามยิ่งนัก (ปี 2553)

ประเพณีแห่เทียนพรรษา
26-28 กรกฎาคม 2553

งานมหัศจรรย์สีสันแห่งสายน้ำ...สายสัมพันธ์สุพรรณภูมิ
จัดที่แม่น้ำท่าจีน ระหว่างวัดวรจันทร์กับวัดพร้าว ใกล้กับตลาดโพธิ์พระยา ระหว่างวันที่ 25 ม.ค. 53 - 2 มกราคม 2554
 

บรรยากาศเล่นสงกรานต์เมืองสุพรรณฯ
บรรยาการการเล่นน้ำสงกรานต์เมืองสุพรรณบุรี บริเวณรอบเมืองสุพรรณบุรี วันที่ 17 เมษายน
 2553
 
เทศกาลดอกทิวลิปบานต้อนรับปีใหม่
ในช่วงปีใหม่ของทุกปี ดอกทิวลิปแสนสวยจะบานสะพรั่ง
ณ ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง อำเภออู่ทอง

เทศกาลลอยกระทงเมืองสุพรรณ
วันเพ็ญเดือน 12 น้ำก็นองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริงวัน...ลอยกระทง

งานเทศกาลทิ้งกระจาด    กำหนดจัดงานหลังสารทจีนไป 3 วัน เริ่มวันที่ 18 เดือน 7 ของจีน ตรง กับเดือน 9 ของไทย ราวเดือนสิงหาคม-กันยายน สถานที่จัดงานอยู่ในเขต เทศบาล ตั้งแต่สมาคมตงฮั้วฮ่วยก้วง จนถึงด้านหลังเทศบาลเมืองฯ


งานนมัสการหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์  
จัดขึ้นทุกปีปีละ 2 ครั้งในเดือน 5 และดือน 12 ตั้งแต่วันขึ้น 7-9 ค่ำ


ประเพณีกำฟ้า  เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของไทยพวน แบ่งเป็น 2 ช่วงคือวันขึ้น 3 และ 7 ค่ำ เดือนกุมภาพันธ์ วันกำฟ้าจะหยุดทำงานและเตรียมอาหารขนมหวาน คือ ข้าวหลาม นำไปถวายพระ เมื่อถึงกลางคืนจะมีงานเลี้ยงฉลอง ประเพณีนี้ ยังคงมีอยู่ในหมู่บ้านไทยพวน
ประเพณีบุญบั้งไฟ  จัดขึ้นในหมู่ไทยพวน ไทยเวียง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนพฤษภาคม เพื่อเป็นการบูชาเทวดาให้ฝนตกตามฤดูกาล มีการจัดเตรียมบั้งไฟแห่แหนไปวัดและยิงบั้งไฟที่วัด ปัจจุบันยังคงหาดูได้ในตำบลต่างๆ ในอำเภออู่ทอง และอำเภอบางปลาม้า

ประเพณีแต่งงานของไทยโซ่ง   พิธีแต่งงานดั้งเดิมของไทยโซ่ง ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง ตำบลบ้านดอน ดอนมะเกลือ หนองแดง อำเภออู่ทอง หลังจากที่ได้รับอนุญาตจากฝ่ายเจ้า สาวแล้ว เจ้าบ่าวจะจัดงานในวันขึ้น 1 ค่ำจนถึง 13 ต่ำของเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม และ พฤศจิกายน

งานทิ้งกระจาด เป็นพิธีกรรมของชาวพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และได้จัดติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 100 ปีมาแล้ว เมื่อครั้งพุทธกาลที่พระอานนท์กำลังบำเพ็ญสมาธิปรเวกธรรม อยู่ที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ ได้มีอสูรกายตนหนึ่งได้แสดงร่างเป็นเปรต แล้วกล่าวกับพระอานนท์ว่า อีกสามวันพระพุทธเจ้าจะสิ้นพระชนม์ พระอานนท์จึงถามว่าจะแก้ไขได้อย่างไร เปตรตอบว่าจะต้องทำพิธีอุทิศเครื่องอุปโภคบริโภค เป็นไทยทาน พระองค์จึงจะอยู่รอด และจะมีพระชนมายุยืนนานอีกด้วย พระอานนท์จึงทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงโปรดให้ประกอบพิธีเมตตาธรรม ด้วยการโปรยทาน งานบุญทิ้งกระจาดจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้
โดยเริ่มกลางเดือน 7 ของจีน แต่จะตรงกับเดือน 9 ของไทยทางจันทรคติ เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน พอวันที่ 3 จะเป็นวันทิ้งกระจาดฟ้า โดยจะมีการทิ้งสิ่งของหรือไม้ติ้ว ที่มีหมายเลขเขียนไว้จากที่สูงลงมา ผู้ที่มาชมงานถ้าใครรับไม้ติ้วได้หมายเลขไดก็นำไปรับสิ่งของตามหมายเลขนั้น ซึ่งมีค่ามากน้อยลดลดหลั่นกันแล้วแต่โชค ส่วนงานทิ้งกระจาดดิน จะต่างกับการทิ้งกระจาดฟ้าตรงที่ของนั้นจะทิ้งไว้บนพื้นดิน เพราะถือว่าการทิ้งการจาดดิน เป็นการทิ้งทานให้แก่พวกภูตผีปีศาจทั้งหลาย
ในวันแรกของงานทิ้งกระจาดจะมีขบวนแห่ที่สวยงาม มีความยาวและยิ่งใหญ่กว่างานใดๆในจังหวัด  มีขบวนเชิดสิงโต มังกร ขบวนธงทิว โดยสาวงามจากท้องถิ่นต่างๆในจังหวัด มีชุดฟ้อนรำลำกลองยาว ล่อโก๊ว ที่สำคัญคือมีขบวนหาบสิ่งของเพื่อไปอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมือง โดยนำมาเพียงกระถางธูปแทนเท่านั้น จากนั้นก็นำมายังสถานพิธีที่สมาคมจีน จะมีการออกร้าน แสดงสิ้นค้า และมหรสพต่างๆ โดยเฉพาะงิ้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น